โรคเริมกับการสักปาก : 3 ข้อควรรู้

โรคเริม กับการสักปาก วันนี้เรามาทำความเข้าใจกับสาเหตุการเกิด โรคเริม ที่ปากและวิธีดูแลรักษา และหลายๆคนควรที่จะทราบไว้ เพราะโรคเริมเป็นโรคธรรมดาที่อาจเกิดขึ้นได้กับทุกคน การนอนน้อย หรือความเครียด โรคนี้สามารถพบได้ในเด็ก จนถึงผู้ใหญ่

เริม หรือ โรคเริม ( Herpes ) เป็นโรคติดเชื้อที่พบได้บ่อยมาก เมื่อติดเชื้อนี้แล้วเชื้อจะอยู่ในร่างกายไปตลอดชีวิต สามารถเกิดได้กับบุคลทั่วไปทั้งชายและหญิงที่มีสุขภาพร่างกายที่อ่อนแอสามารถรับเชื้อจากการติดต่อโดยการสัมผัสกับผู้ที่เป็นโรค หรือรับประทานอาหารร่วมกัน การใช้สิ่งของร่วมกัน  การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วย ที่อยู่ในช่วงที่ร่างกายแสดงอาการหรือช่วงที่ร่างกายอ่อนแอ หรือแม้แต่การสัมผัสสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ในที่สาธารณะ ก็อาจทำให้รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้

โรคเริม คืออะไร

เริม ( herpes) เป็นตุ่มน้ำขนาดเล็ก มักเจ็บ และเกิดขึ้นบริเวณใกล้กับปาก บางครั้งอาจจะเรียกว่า fever blisters หรือ oral herpes เริมเป็นโรคติดต่อและสามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัส น้ำลายหรือผิวหนัง โรคนี้ไม่มีวิธีดูแลรักษาให้หายขาดได้ แต่มักจะหายไปได้เองใน 1-2 สัปดาห์และไม่ได้ทำให้เกิดแผลเป็นใดๆ การรักษาด้วยยาและวิธีอื่นๆ สามารถช่วยลดอาการปวดจากตุ่มน้ำเหล่านี้ได้

โรคเริมเกิดจากเชื้อไวรัส 2 ชนิด คือ herpes simplex virus ชนิดที่ 1 (HSV-1) และ herpes simplex virus ชนิดที่ 2 (HSV-2) ไวรัสทั้ง 2 ชนิดนี้สามารถทำให้เกิดตุ่มพอง ตุ่มน้ำ ได้ที่บริเวณอวัยวะเพศหญิง ช่องคลอด ปากมดลูก ทวารหนัก อวัยวะเพศชาย ถุงอัณฑะ ก้น ต้นขาด้านใน ริมผีปาก ปาก ลำคอ และพบได้น้อยที่ดวงตา

เริม ติดต่อกันอย่างไร?

เริมจะติดต่อผ่านการสัมผัสกับรอยแผล ตุ่มน้ำ บริเวณรอยโรค พบได้ขณะมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทางปาก ทางทวารหนัก และการจูบ เริมอาจจะทำให้มีอาการคัน เป็นแผลตุ่มน้ำ ซึ่งสามารถเป็นและหายเองได้ ผู้คนจำนวนมากที่เคยเป็นเริมอาจไม่มีอาการของตุ่มพอง หรือตุ่มน้ำใดๆ ทำให้เขาไม่รู้ว่าตนเองกำลังติดเชื้อนี้อยู่ คุณสามารถแพร่เชื้อเริมได้แม้ว่าคุณจะไม่มีอาการหรือไม่มีตุ่มน้ำใดๆ

เป็นเริมแล้วสักปากได้ไหม?

การสักปากไม่ได้ทำให้เป็นเริม! การสักปาก/ฝังสีปาก จะเป็นการกระตุ้นให้คนที่มีเชื้อไวรัสเริมที่อยู่ในตัว แสดงอาการขึ้นมา คนที่เคยเป็นเริมมาก่อนแล้วหายไปแล้ว พอมาสักปากจะทำให้เกิดการกระตุ้นบริเวณแผลทำให้เป็นขึ้นมาอีก แล้วยิ่งลูกค้าที่พักผ่อนไม่พอ นอนน้อย ก็จะเกิดขึ้นเป็นปกติค่ะ

ดังนั้นก่อนเข้ารับการสักปากควรทานยาแก้เริมทานล่วงหน้าประมาณ 3 วัน และหลังสักปากอีก 3 วันโดยประมาณ เพื่อป้องกันเริมที่จะเกิดขึ้นมาหลังสักปาก

สำหรับคนที่ไม่ได้ทานยาล่วงหน้า หรือ ไม่ทราบว่าตัวเองมีเชื้อเริมในร่างกายมาก่อน สามารถทานยาแก้เริมหลังสัก ประมาณ 5 วันโดยประมาณนะคะ หรือสามารถปรึกษาเภสัชกรได้ค่ะ

และแม้จะไม่ใช่โรคที่มีความอันตรายแต่ก็เป็นโรคที่สามารถกลับมาเป็­­­­นซ้ำได้หากไม่ระมัดระวังให้ดี ฉะนั้นทางที่ดีที่สุดก็ควรที่จะรักษาสุขภาพของเราให้แข็งแรงอยู่เสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ พยายามไม่เครียด เพราะเมื่อร่างกายของเราแข็งแรงแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเริม หรือโรคอะไรก็ไม่สามารถมาทำร้ายเราได้แน่นอนเลยค่ะ


อย่างที่กล่าวมา เนื่องจากเริมไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เราจึงเอาวิธีการรักษา เริม มาฝากกันนะคะ เนื่องจากแม้ว่าแผลเริมจะหายแล้วแต่เชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ก็ยังคงหลบซ่อนอยูบริเวณประสาท และจะแสดงอาการอีกครั้งเมื่อภูมิคุ้มกันต่ำลง จึงทำให้การรักษาเริมโดยส่วนใหญ่เน้นที่การบรรเทาอาการเจ็บปวดจากแผลเริม และการควบคุมความรุนแรงของอาการ ความถี่ของการเกิดอาการ รวมทั้งการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส

การบรรเทาอาการเจ็บปวดด้วยตัวเอง

การรักษาเริมด้วยตัวเองโดยส่วนใหญ่แล้วจะเน้นไปที่การบรรเทาอาการปวดและคันบริเวณแผลเริม เนื่องจากเริมสามารถหายเองได้โดยไม่ต้องใช้ยารักษา ซึ่งวิธีการบรรเทาอาการเจ็บปวดของเริมที่ปากและเริมที่อวัยวะเพศสามารถทำได้ดังนี้

เริมที่ปาก

ดื่มน้ำเยอะๆ : การดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายจะช่วยให้ร่างกายไม่ขาดน้ำและทำให้แผลหายได้เร็วขึ้

เลี่ยงอาหารที่เป็นกรดหรือมีรสจัด : รสเค็มจัด หรือมีส่วนประกอบของกรดมาก ๆ อาจทำให้แผลเกิดการระคายเคืองได้

เปลี่ยนมาใช้น้ำยาบ้วนปากแทนชั่วคราว : หากรู้สึกเจ็บที่แผลขณะแปรงฟัน ควรเลิกแปรงฟันชั่วคราวเพื่อไม่ให้แผลยิ่งระคายเคือง

ประคบเย็น : การประคบแผลด้วยความเย็นจะช่วยลดอาการเจ็บปวดได้ อีกทั้งยังป้องกันไม่ให้แผลแห้งและปริแตก แต่ทั้งนี้ก็ห้ามประคบเย็นหากแผลมีของเหลวซึมออกมา

หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง : เช่น แสงแดด โดยการทาลิปปาล์มที่ช่วยป้องกันแสงยูวี จะช่วยให้แผลชุ่มชื้น ป้องกันการปริแตกของแผล

เริมที่อวัยวะเพศ

ล้างด้วยน้ำอุ่น หากมีอาการปวดหรือเจ็บที่บริเวณแผลให้ล้างบริเวณรอบ ๆ แผลด้วยน้ำอุ่นอย่างน้อยวันละ 3-4 ครั้ง ขณะล้างพยายามอย่าให้แผลโดนน้ำ

ใช้ลมเป่าแทนการเช็ดด้วยผ้า หลังจากล้างทำความสะอาดบริเวณแผลแล้วควรใช้ลมเป่าให้แห้งแทนการเช็ดด้วยผ้าเพื่อป้องกันการเสียดสีจนเกิดการระคายเคือง

สวมใส่ชั้นในที่ผลิตจากผ้าคอตตอน เพราะผ้าคอตตอนสามารถดูดซับความชื้นได้ดี และไม่ควรสวมใส่ชั้นในที่ฟิตจนเกินไปเพราะอาจทำให้แผลถูกเสียดสีได้

ประคบเย็น ความเย็นจะช่วยลดอาการเจ็บปวด

การใช้ยา

การรักษาเริม รักษาโดยการรับประทานยาต้านไวรัส เช่น ยา Acyclovir, Valacyclovir หรือ Famciclovir การให้ยาภายในระยะเวลา 72 ชั่วโมงหลังมีอาการ จะช่วยให้รอยโรคทางผิวหนังหายได้เร็วขึ้น และลดระยะเวลาการปวดแผล ส่วนการใช้ยาต้านไวรัสชนิดทามีประโยชน์น้อย

โรคเริม

โรคเริมยังไม่มียา ที่สามารถรักษาให้หายขาดได้โดยตรง ดังนั้น ในช่วงที่เกิดอาการ แพทย์อาจสั่งยาลดอาการปวด เช่น ยาพาราเซตามอล และยาไอบูโพรเฟน นอกจากนี้ เพื่อบรรเทาอาการปวดและระคายเคือง ก็อาจใช้ยาทาที่มีส่วนผสมของยาชา เพื่อบรรเทาอาการชั่วคราวได้ แต่ทั้งนี้ก็ยังต้องใช้ยาต้านไวรัสเพื่อควบคุมการแพร่กระจายและบรรเทาความรุนแรงและความถี่ในการเกิดโรค โดยยาต้านไวรัสที่นิยมใช้ มีดังนี้

ทั้งนี้ ยาต้านไวรัสชนิดครีม สามารถหาซื้อได้ ตามร้านขายยาทั่วไป โดยไม่ต้องมีใบสั่งยา แต่การใช้ยาชนิดครีม จะได้ผลก็ต่อเมื่อใช้ในขณะที่ เริ่มมีอาการแสดง เท่านั้น

เพราะหากใช้ในขณะที่อาการเริ่มรุนแรงมากขึ้น จะไม่ค่อยได้ผลมากนัก ควรรีบใช้ยาต้านไวรัสชนิดครีมทาทันทีเมื่อรู้สึกคล้ายเป็นเหน็บ หรือแสบร้อนที่ผิวหนังบริเวณปากเพื่อไม่ให้อาการรุนแรงมากขึ้น โดย ควรทาอย่างน้อยวันละ 4-5 ครั้ง ทั้งนี้การใช้ยาทาชนิดครีม ไม่สามารถกำจัดไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ หรือป้องกันการติดเชื้อครั้งต่อไปได้

การสั่งยาของแพทย์ในผู้ป่วยแต่ละกลุ่มล้วนไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับจำนวนการกลับมาเป็นซ้ำของเริมที่อวัยวะเพศ โดยสำหรับผู้ป่วยที่มีการกลับมาเป็นซ้ำน้อยกว่า 6 ครั้งต่อปี แพทย์จะใช้วิธีการรักษาแบบเอพิโซดิก (Episodic Treatment) นั่นก็คือการสั่งใช้ยาอะไซโคลเวียร์ 5 วันติดต่อกันเมื่อผู้ป่วยเริ่มรู้สึกคล้ายเป็นเหน็บหรือมีอาการชาซึ่งเป็นสัญญาณแรกของเริม

แต่ถ้า ผู้ป่วยมีการกลับมาเป็นซ้ำมากกว่า 6 ครั้งต่อปี หรือ มีอาการที่ค่อนข้างรุนแรง จนเป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยเกิดความทุกข์ แพทย์อาจใช้การรักษาแบบยับยั้งอาการ ซึ่งเป็นการรับประทานยาอะไซโคลเวียร์ต่อเนื่องวันละ 2 ครั้ง ติดต่อกัน 6-12 เดือน เป็นการรักษาในระยะยาวที่จะช่วยป้องกันการติดเชื้อซ้ำในอนาคต อีกทั้งยังลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่น ทว่าการรักษาแบบนี้จะไม่สามารถป้องกันได้โดยสิ้นเชิง การรักษานี้มักจะจบลงหลังการรักษา 12 เดือนเมื่อความถี่ของการติดเชื้อซ้ำลดลง จากนั้นผู้ป่วยก็จะกลับไปใช้วิธีการรักษาแบบครั้งคราว คือรับประทานยาติดต่อกัน 5 วันเมื่อเกิดอาการกำเริบ ทั้งนี้ความถี่และความรุนแรงของเริมที่อวัยวะเพศจะลดลงหลังจากการรักษาด้วยวิธียับยั้งอาการประมาณ 2 ปี แต่แพทย์อาจต้องกลับมาใช้การรักษาด้วยวิธีดังกล่าวอีกครั้งหากอาการกลับมารุนแรงอีก และแพทย์อาจแนะนำให้ใช้วิธีการรักษาโดยผู้เชี่ยวชาญหากอาการยังคงรุนแรงแม้ว่าจะกลับมารักษาด้วยวิธียับยั้งอาการแล้วก็ตาม

นอกจาก การใช้ยาต้านไวรัสแล้ว การใช้ยาชนิดอื่น ๆ ช่วยบรรเทาอาการก็อาจเป็นไปได้ อาทิ ยาไอบูโพรเฟน หรือยาพาราเซตามอล ที่ใช้เพื่อลดอาการปวดของแผล ยกเว้นผู้ป่วยที่มีอาการของโรคหอบหืด แผลในกระเพาะอาหาร ไม่ควรใช้ยาไอบูโพรเฟน และเด็กที่อายุต่ำกว่า 16 ปี ไม่ควรใช้ยาแอสไพริน สำหรับหญิงตั้งครรภ์หากมีอาการของเริมที่ปากควรปรึกษาแพทย์ เนื่องจากการใช้ยาอาจส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้

Follow us on social media